รับจัดหาพรรณไม้

มะคังแดง ตะลุมพุก กาแฟดำ ชุมแพรก สามพันตา รักขาว มะหวด ยางยืด ยางโอน สะทางเล็ก โมกหลวง ขางหัวหมู สะแกแสง กระทุ่มน้ำ กระทุ่มขว้าว กระทุ่มบก กระทุ่มเขา ยางยูง ยางมันหมู พันจำเขาใหญ่ จำปีเขาใหญ่ กรวยสวน กระเจียน ตารา ส้มกบ เทพธาโร ส้านช้าง ส้านหิ่ง จิกภูเขา ยอป่า ยอเถื่อน มะขามป้อม กาสามปีก ตองเต๊า แมคคาเดเมีย ถังเบียร์ กระโมกเขา จันดงใบใหญ่ พุดสามสีดอกใหญ่ ปาหนันช้าง โปร่งกิ่วดอกแดง บุหรง



วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

แคแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora (L.) Desv.

ชื่อสามัญ : Agasta, Sesban, Vegetable humming bird
วงศ์ : Leguminosae - Papilionoideae
ชื่ออื่น : แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)
แคแดงมีรสชาติดีกว่าแคขาวที่จะมีรสจืดกว่า และมีสีสันสวยงาม บางบ้านปลูกประดับเพราะแคแดงให้ดอกดก

สรรพคุณ :




เปลือก

- ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว

- แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ

- ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล



ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)

ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้



ใบสด

- รับประทานใบแคทำให้ระบาย

- ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก



วิธีและปริมาณที่ใช้ :



แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ

ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง



แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)

- ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว

- ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล


คัดลอกมาจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น